พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 19 เมษายน 2568
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นบางพื้นที่ รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว
สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่งไว้ด้วย เนื่องจากลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกา
ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณประเทศไทยตอนบน อยู่ในเกณฑ์น้อยถึงปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง และยังคงมีฝนตกบางพื้นที่ในบริเวณดังกล่าว
สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 6 กันยายน 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. 67 นี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (YAGI) ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 7 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 5 กันยายน 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. 67 นี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ยางิ” (YAGI) ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 67 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนัก
และลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 4 กันยายน 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่าง
มีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. 67 นี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยคาดว่าในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 67 จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 3 กันยายน 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ รวมถึงระวังอันตรายจากลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคกลางตอนล่าง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวนี้ไว้ด้วย
สำหรับพายุโซนร้อน “ยางิ” (YAGI) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และพายุไต้ฝุ่นตามลำดับ คาดว่าในช่วงวันที่ 6 - 8 ก.ย. 67 จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมากเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 7 – 8 ก.ย. 67

พยากรณ์อากาศประจำวันที่ 2 กันยายน 2567
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 4-7 ก.ย. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวนี้ไว้ด้วย
สำหรับพายุโซนร้อน “ยางิ” บริเวณประเทศฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 6-7 กันยายน 2567